ว่ายไปๆ

ปลาสวยงาม

วัตถุประสงค์

บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาและเป็นตัวอย่างในการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน กลุ่มเรียนที่ 20 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ค้นหา

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

ปลางามตู้กระจก



1. ตลาดนัดปลาสวยงาม






2.การดูความสวยงามของปลาทองและพันธุ์ของปลากัด






3.อาหารของปลาสวยงาม




4. การผสมพันธุ์และการส่งออกปลาสวยงาม

การป้องกันและรักษาโรคปลาสวยงาม

หลักการป้องกันรักษาโรคปลาสวยงาม
                  การป้องกัน
                  การรักษาโรคสัตว์น้ำทำได้ยาก และสิ้นเปลืองเวลาค่าใช้จ่าย เพราะยารักษามีราคาแพง  ดังนั้นการป้องกันโรคปลาจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่ผู้เลี้ยงปลาควรเอาใจใส่ โดยเฉพาะตั้งแต่เริ่มต้นในการเตรียมสถานที่หรือตู้ปลา การขนส่งลำเลียงปลามายังสถานที่เลี้ยง  การเลี้ยงดูให้อาหาร  การระบายของเสียหรือถ่ายเทน้ำให้มีคุณภาพดีอยู่อย่างสม่ำเสมอ จึงสามารถช่วยให้ปลามีสุขภาพดี ปราศจากโรคได้ ความเข้มงวดตั้งแต่เรื่องสถานที่ต้องพิจารณาจากการระบาดของโรคในอดีต  แหล่ง น้ำที่นำมาใช้เลี้ยงว่ามีปริมาณเพียงพอและคุณภาพดีเหมาะสมหรือไม่ ผู้เลี้ยงควรดูแลในเรื่องสาธารณสุขของสถานที่ และตู้ปลาที่ใช้เลี้ยง  ควรทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับปรับคุณภาพน้ำให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา และติดตามด้วยการนำพันธุ์ปลาที่มีคุณภาพ สุขภาพดี รู้ประวัติ และแหล่งที่นำมาอย่างดี ควรเป็นแหล่งที่เชื่อถือได้ การลำเลียงขนส่งควรระมัดระวังอย่าขนส่งไกลเกินไป หรือใช้ระยะเวลาในการขนส่งนาน เพราะปลาอาจบอบช้ำมีอาการกระวนกระวายทำให้เสียงพลังงานร่างกายอ่อนเพลียจน ติดโรคง่าย  ควรใส่เกลือความเข้มข้นร้อยละ 0.1 - 0.5และยาเหลือง ร้อยละ 1-3 ต่อ ปริมาณน้ำที่ใช้ และทำให้อุณหภูมิต่ำเพื่อลดการกระวนกระวาย การปล่อยก็ควรมีการปรับสภาพให้เหมาะสมก่อนปล่อย และต้องกระทำเสมอก่อนปล่อยปลาลงบ่อเลี้ยง คือ การควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโรคที่ติดมากับตัวปลา โดยการแช่ดิฟเทอร์เร็กซ์เข้มข้น 0.05 กรัมต่อน้ำ 100 ลิตร นาน 3 - 4ชั่วโมง และอาจแช่ฟอร์มาลีนและยาความเข้มข้น 25 ส่วนในล้านส่วน เพื่อให้มั่นใจมากขึ้น อัตราการปล่อยไม่ควรหนาแน่นเกิน ไป เพราะนอกจากทำให้ไม่สวยงามแล้วยังทำให้ปลาเครียด และอ่อนแอ การเลี้ยงควรให้อาหารแต่พอดีไม่ควรให้มากเกินไปเพราะทำให้คุณภาพน้ำเสื่อม ถอยเร็ว และมั่นดูแลอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับปลาในขณะทำการเลี้ยง  หากมีอาการผิดปกติควรทำการวินิจฉัยโรคให้เด่นชัด และดำเนินการรักษาอย่างรีบด่วนในขั้นตอนต่อไป
                  การรักษา
                  การป้องกันโรคอย่างดีที่สุด อาจหลีกเลี่ยงการป่วยไม่ได้ในบางครั้ง  ดังนั้น  เราควรรู้วิธีการรักษาไว้ด้วย โดยพิจารณาจากคุณภาพน้ำก่อนอื่น และตามด้วยขั้นตอนการศึกษาหาความรู้ในด้านต่าง ๆต่อไป ดังนี้คือ
                    1. ผู้เลี้ยงต้องมีความรู้เกี่ยวกับน้ำ ผู้เลี้ยงต้องศึกษาคุณภาพของน้ำที่ใช้เลี้ยงปลา และการคำนวณปริมาตรของน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาอย่างถูกต้อง  เพื่อนำมาประกอบใช้สำหรับการใส่ปริมาณของสารเคมีรักษาโรคปลา เนื่องจากสารเคมีที่ใส่ลงไปอาจเจือจางเกินไปจนไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้  มี ผลทำให้การรักษาไม่ได้ผล หรือเข้มข้นมากเกินไปจนทำให้ปลาเป็นอันตราย และตายได้ นอกจากนี้คุณสมบัติของน้ำก็มีความสำคัญมากเหมือนกัน เช่น ความเป็นกรดเป็นด่าง ความกระด้าง และอุณหภูมิ เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลต่อความเป็นพิษของสารเคมีบางอย่าง
                  2. ผู้เลี้ยงต้องมีความรู้ในการรักษาปลาแต่ละชนิด และขนาดของปลา เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลต่อการใช้สารเคมี และยาแตกต่างกัน ปลาบางอย่างมีความไวต่อสารเคมีบางชนิด อายุ และขนาดของปลาก็มีผลต่อการใช้สารเคมี ปลาที่มีขนาดเล็กอายุน้อยมีความทนทานต่อสารเคมี และยา ได้น้อยกว่าปลาที่มีขนาดใหญ่ วิธีการที่ดีที่สุดควรทดสอบการใช้สารเคมีกับปลา 4-5 ตัว ก่อนที่นำไปใช้รักษาปลาทั้งตู้ การทดลองยาอาจกระทำในถังน้ำขนาดเล็กก็ได้
                  3. ผู้เลี้ยงต้องรู้จักสารเคมีอย่างดี  ตลอด จนรู้จักระดับความเป็นพิษของสารเคมี หรือยาที่ใช้รักษาปลา เนื่องจากสารเคมีบางอย่างสลายตัวได้เร็วเมื่อมีแสงแดด การใช้สารเคมีผสมกัน อาจทำให้ความเป็นพิษเพิ่มมากขึ้น หรือหักล้างพิษซึ่งกันจนไม่มีผลในการรักษา
                  4. ผู้เลี้ยงควรรู้จักโรคที่ทำการรักษาว่ามีความสัมพันธ์กับสารเคมี และยา ที่ใช้ในการรักษาโรคหรือไม่ เพราะยาแต่ละชนิดจะมีขอบเขตจำกัดในการฆ่าเชื้อบางอย่างเท่านั้น การวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องตลอดจน การเลือกใช้ยาและสารเคมีที่ให้ผลดีในการรักษาโรคจะลดการสิ้นเปลืองได้อย่าง ดี

วิธีการรักษาโรคปลา
                  1. วิธีการรักษาโรคโดยการปรับสภาพของน้ำที่เลี้ยงในตู้ปลา เนื่องจากการที่ปลาป่วยเป็นโรคนั้น อาจ เกิดจากโรคมีเชื้อ หรือไม่มีเชื้อก็ได้ ผู้เลี้ยงจำเป็นต้องปรับสภาพน้ำให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลาสวยงาม แต่ไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรค ผู้เลี้ยงควรปฏิบัติเป็นขั้น ๆ ดังนี้คือ
                        1.1 การเพิ่ม หรือลดอุณหภูมิของน้ำ ในตู้ปลา เพื่อลดหรือช่วยกระตุ้นวงจรชีวิต หรือชีพจักรของเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด
                        1.2 การเพิ่มระดับน้ำ  เพื่อช่วยให้น้ำภายในตู้มีการหมุนเวียน  และช่วยกระตุ้นให้ปลาว่ายน้ำ และมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น
                        1.3 การให้แอร์ปั๊ม เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำในตู้ปลา ทำให้น้ำมีคุณภาพที่เหมาะต่อดำรงชืวิตและการเจริญเติบโตของปลาสวยงาม
                        1.4 การใส่เกลือลงในตู้ที่ใช้เลี้ยงปลา  ช่วยฆ่าเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อปลาสวยงามได้อย่างดี
               
                  2. การใช้สารเคมี สารเคมีที่ใช้ในการรักษาโรคปลามีหลายวิธี ผู้เลี้ยงจำเป็นต้องเลือกใช้ให้ตรงกับชนิดของโรค และความสะดวก ดังนี้
                        2.1 การจุ่ม วิธีการนี้เป็นการจุ่มปลาลงในสารละลายเคมีที่มีความเข้มข้นสูง โดยใช้ระยะเวลาแช่สั้นๆ วิธีการนี้อาจเป็นอันตรายต่อปลา เนื่องจากความเข้มข้นของสารเคมีจึงเหมาะจะใช้กับปลาจำนวนน้อยๆ โดยการจับปลาแช่ในสารเคมีเข้มข้น  15-30  นาที
                        2.2 การแช่ระยะสั้น ส่วนใหญ่นิยมใช้กับตู้ปลาขนาดเล็กที่สามารถถ่ายเทน้ำได้สะดวก  โดย ใส่สารเคมีลงในตู้ปลาป่วย และทิ้งไว้นานระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนน้ำ ผู้เลี้ยงต้องระมัดระวังอย่าให้สารเคมีทำอันตรายปลาที่เลี้ยง ตามปกติใช้ระยะเวลาในการแช่ประมาณ  1 ชั่วโมง แต่ผู้เลี้ยงต้องคอยเฝ้าอาการผิดปกติของปลาด้วย
                        2.3 การแช่ระยะยาว นิยมใช้กับปลาที่มีขนาดใหญ่ สารเคมีที่ใช้อยู่ในระดับความเข้มข้นต่ำ ซึ่งถือว่าเป็นวิธีรักษาที่ปลาปลอดภัยที่สุด
                        2.4 การใช้สารเคมีผสมอาหาร นิยมใช้กับปลาที่เป็นโรคซึ่งเกิดจากเชื้อบักเตรี และหนอนพยาธิภายในบางชนิดเท่านั้น โดยการผสมสารเคมีลงในอาหารให้ปลาที่ป่วยกินเป็นระยะเวลานาน ๆ และควรให้อาหารผสมยาในขณะที่ปลาหิว อย่างไรก็ดี วิธีการนี้ค่อนข้างสิ้นเปลืองเนื่องจากตัวยาที่ใช้รักษามีราคาแพง และต้องใช้เวลานาน
                        2.5 การฉีดสารเคมีให้ปลาที่ป่วย นิยมใช้กับปลาที่มีขนาดใหญ่ ราคาแพง โดยเฉพาะปลาที่เป็นพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ อาจใช้วิธีฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือช่องท้อง ตัวยาแพร่กระจายไปตามส่วนต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว  การักษาด้วยวิธีนี้ ผู้เลี้ยงควรมีความชำนาญในการฉีดยา มิฉะนั้น ปลาที่เลี้ยงจะบอบช้ำได้ง่าย
                  ตามปกติเชื้อที่ทำให้เกิดโรคปลามีหลายชนิด เช่น เชื้อรา เชื้อบักเตรี เชื้อไวรัส เชื้อโปรโตซัวฯลฯ เชื้อเหล่านี้ คอยเบียดเบียนทำให้ปลาเป็นโรค หรือมีอาการผิดปกติสารเคมีที่ใช้ในการรักษาโรคปลามีทั้งที่อยู่ในรูปของยาผง และยาน้ำ  การใช้สารเคมีในการป้องกันรักษาปลาสวยงาม ผู้เลี้ยงควรใช้หลักในการพิจารณาดังนี้  คือ
                  1. การระบายน้ำเข้าออกภายในตู้ปลา  ผู้เลี้ยงต้องมีแหล่งน้ำสำรองไว้ใช้อย่างเพียงพอ  ทั้งนี้เนื่องจากการใช้สารเคมีในบางครั้งปลาสวยงามอาจเกิดอาการแพ้สารเคมี ก็สามารถแก้ไขได้ทันท่วงที
                  2. การเอาใจใส่  หลังจากใส่สารเคมีลงในบ่อ ผู้เลี้ยงจำเป็นต้องคอยดูการเปลี่ยนแปลงของปลาในตู้ โดยเฉพาะหลังจากใส่สารเคมีลงไป  ชั่วโมง การใช้สารเคมีรักษาโรคควรกระทำในเวลาเช้า
                  3. ก่อนใช้สารเคมี ผู้เลี้ยงควรพิจารณาสารเคมีที่ใช้ได้ดีเสียก่อน โดยเฉพาะปริมาณการใช้ เช่น เกลือจะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ ต้องใช้ความเข้มข้นประมาณ  1  เปอร์เซ็นต์
                  4. อุณหภูมิของน้ำภายในตู้ปลา และสภาพตู้ปลามีผลต่อปฏิกิริยาของสารเคมีหรือไม่  ตามปกติถ้าอากาศร้อน หรือน้ำในตู้ปลามีอุณหภูมิสูง ทำให้สารเคมีออกฤทธิ์เร็ว และหมดฤทธิ์ช้า
                  5. คุณสมบัติทางเคมีของน้ำมีผลต่อฤทธิ์สารเคมีที่ใช้ เช่น ถ้าสภาพของน้ำเป็นกรด ทำให้ด่างทับทิมออกฤทธิ์แรงขึ้น แต่ถ้าน้ำที่มีสภาพเป็นด่าง ฤทธิ์ของด่างทับทิมลดลง
                  6. ปริมาณของพืชน้ำในตู้ปลา การใช้สารเคมีทำให้พืชน้ำถูกทำลายลงไปด้วย และสารเคมีทำอันตรายแพลงค์ตอนที่เป็นอาหารปลา
                  กล่าวโดยสรุปผู้เลี้ยงปลาสวยงามต้องมีใจรัก และสนใจดูแลปลาอย่างดี หมั่นหาความรู้ทั้งในเรื่องคุณภาพน้ำ ตัวปลา และโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา พร้อมทั้งค้นคว้าหารายละเอียดเรื่องสารเคมีหรือยาที่เหมาะต่อปลา และสภาพการเลี้ยงนั้น ๆ ไม่ควรปล่อยให้เกิดการเสียหายก่อนจึงค่อยดำเนินการเพราะทำให้เกิดการสูญเสียจนแก้ไขไม่ได้ ควรใช้วิธีการป้องกันเพื่อผ่อนหนักให้เป็นเบา จึงประสบผลสำเร็จในการเลี้ยงปลาสวยงามตามปรารถนา

โรคของปลาสวยงาม

โรคของปลาสวยงาม

                  ในการเลี้ยงปลาสวยงามนั้น นอกจากทำให้เกิดความเพลิดเพลินในการดูแลปลาแล้ว ยังมีสิ่งที่น่าศึกษาอีกมากเกี่ยวกับโรคที่เกิดขึ้นในปลาสวยงาม การทำความเข้าใจถึงสาเหตุ อาการ และการรักษาโรค ทำให้การเลี้ยงปลามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผลที่ได้รับ คือ ปลาที่แข็งแรง มีสีสันงดงาม มีกิริยาท่าทางแจ่มใส และผู้เลี้ยงที่มีสุขภาพจิตดี
                  โรคที่เกิดขึ้นมีได้หลายสาเหตุ ทั้งที่เป็นโรคติดเชื้อ และโรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค แต่อาจเกิดจากสภาพแวดล้อมหรือความผิดปกติของตัวปลาเอง การดูแลรักษาปลาโดยทั่วไปนั้นต้องเริ่มจากการจัดการที่ดี ทั้งทางด้านอาหาร และสภาพแวดล้อมในน้ำ รวมทั้งการใช้ยา และสารเคมีที่เหมาะสม
โรคที่เกิดจากสภาพแวดล้อม
                  โรคที่เกิดจากสภาพแวดล้อมของปลาสวยงามนั้น  เราควรทำความรู้จักกับโรคต่าง ๆ ดังนี้
                   1. acidosis เกิดจากน้ำเป็นกรดมากไป  ปลา พยายามกระโดดไปมาคล้ายจะหนีออกจากน้ำ มีอาการหายใจ และว่ายน้ำผิดปกติ ถ้าเป็นนานเห็นการอักเสบมีเมือกมากของผิวหนัง และเหงือก จนอาจมีอาการเลือดออก บางครั้งสีปลาจัดขึ้นด้วย
                   2. alkalosis เกิดจากน้ำเป็นด่างมากไป  ปลา มีเหงือกซีด เกิดการกร่อนของผิว และเมือกมาก ในระยะแรกเห็นผิวเป็นสีขาวฟ้าขุ่น ครีบกร่อน ควรปรับสภาพน้ำให้พอเหมาะโดยอาจใช้น้ำส้มสายชูช่วย
                  3. พิษจากแอมโมเนีย แอมโมเนียเป็นของเสียที่ได้มาจากของปลา และอาหารที่ตกค้าง เมื่อสะสมในอ่างมากก่อให้เกิดความระคายเคืองอย่างรุนแรงต่อเยื่อเมือก ปลามีอาการหายใจลำบาก จนในที่สุดเกิดอาการชักเกร็ง และตายในที่สุด การเพิ่มความเป็นกรดในน้ำสามารถลดความเป็นพิษของแอมโมเนียได้
                  4. พิษจากคลอรีน ปกติแล้วคลอรีนเป็นพิษมากต่อปลาสวยงาม จึงต้องระวังเมื่อนำน้ำประปามาใช้ในการเลี้ยง เมื่อถูกสารนี้ปลามีอาการสีซีดลง และหายใจขัด เนื่องจากมีการระคายเคืองของเนื้อเยื่อเหงือกอัตราการตายขึ้นอยู่กับระดับของคลอรีนที่ได้รับถ้าได้มากกว่า 0.5 มิลลิกรัม ต่อลิตร ก็มักทำให้เกิดการตายในระยะเวลารวดเร็ว แต่ถ้าได้รับปริมาณน้อยเป็นเวลานาน มักมีอาการตาโหลลึก อาจใช้โซเดียมไทโอซัลเฟตเป็นสารลดปริมาณคลอรีนที่รวดเร็วได้
                   5. พิษจากผงซักฟอก ผงซักฟอกมีความเป็นพิษอย่างมากต่อปลา โดยมากเกิดจากการล้างอ่างที่ไม่เหมาะสม มีผงซักฟอกหลงเหลืออยู่ทำให้ปลาระคายเคือง เพราะไปทำลายเมือกซึ่งช่วยปกคลุมป้องกันตัวปลาอยู่โดยเฉพาะบริเวณเหงือก นอกจากนี้ยังอาจถูกดูดซึมเข้าไปจับตัวกับเม็ดเลือด เกิดเป็น methemoglobinทำให้ปลาตายได้โดยผิวอาจแสดงอาการสึกกร่อนในกรณีที่มีความเข้มข้นมาก  ยังไม่มีสารที่ช่วยทำลายพิษชนิดนี้ได้
                   6. พิษจากโลหะหนัก โลหะหนักทุกชนิดเป็นพิษต่อปลาในความเข้มข้นที่ต่างกันไป ดังนั้น  ควรระวังในการใช้ท่อน้ำโลหะ เพราะอาจมีการปนเปื้อนของโลหะเข้ามาในบ่อได้ เช่น ทองแดงเพียง 0.1 ppmสามารถก่อให้เกิดพิษกับปลาได้  โดยเฉพาะเมื่อมีออกซิเจนในน้ำต่ำ ปลามีอาการขาดอาหาร เกล็ดพอง และว่ายน้ำไร้ทิศทาง ส่วนสังกะสีเป็นพิษมากโดยเฉพาะในสภาพน้ำอ่อน  เพราะตกตะกอนในน้ำกระด้าง และก่อให้เกิดอาการป่วยเช่นเดียวกับทองแดง การรักษาพิษจากโลหะทำได้โดยการนำปลาออกจากน้ำที่ปนเปื้อน แล้วอาจใช้สาร chelate หรือสารต้านฤทธิ์จำเพาะช่วยได้เล็กน้อย วิธีที่ดีที่สุดคือย้ายปลาลงไปอยู่ในน้ำสะอาด
                   7. พิษของก๊าซไข่เน่า (hydrogen sulfide) ก๊าซพิษนี้มักเกิดขึ้นเมื่อมีการอุดตันของระบบกรอง มักเห็นมีสาหร่ายขึ้นก่อนในระยะแรก ก๊าซนี้แย่งจับออกซิเจนกับเม็ดเลือด และทำลายระบบประสาทส่วนกลางโดยตรง ถ้ามีความเข้มข้นเกิน  10 ppm  ก็ สามารถทำให้ตายได้ แต่ถ้าได้รับในปริมาณน้อยอาจมีอาการเครียดและพยายามขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำ โดยเหงือกมีสีม่วงเข้ม การแก้ไขควรปรับปรุงระบบกรองไม่ให้มีการสะสมของเสียมากเกินไป และอาจใช้โซเดียมไนไตรต์เพื่อช่วยขับซัลไฟด์ออกจากเนื้อเยื่อได้ โดยใช้แช่ในปริมาณ0.1 ppm หรือใช้ pyridoxineแช่ในความเข้มข้น 25 ppm ก็ได้
                   8. อุณหภูมิน้ำสูงเกินไป (hyperthermia)  ปลา มีอาการว่ายน้ำอย่างรวดเร็ว และอาจหายใจแรงกว่าปกติ ถ้ายังไม่แก้ไขอาจเกิดอาการเส้นเลือดแตกที่ผิวหนัง และครีบได้ โดยปกติการเพิ่มอุณหภูมิของน้ำไม่ควรเกิน 2-3 องศาฟาเรนไฮต์ 
                   9. อุณหภูมิน้ำต่ำเกินไป (hypothermia) ปลา ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำที่เย็นไป ปลาจะมีสีซีด ครีบห่อ ว่ายน้ำช้า ๆ อยู่กับที่ บางครั้งหมุนตัวว่ายน้ำอย่างรวดเร็วหรือว่ายส่ายไปมา ถ้าไม่แก้ไขปลาอาจมีปัญหาการทรงตัวต่อไป การเกิดโรคนี้ทำให้ความสามารถในการรักษาสมดุลความเข้มข้นของเลือดเสียไป และไตวายได้ ดังนั้น ควรใส่เกลือแกง 0.5 เปอร์เซ็นต์ ลงไปช่วยลดการสูญเสียลงได้
                   10. พิษของนิโคติน  เนื่องจากควันบุหรี่สามารถละลายน้ำได้อย่างรวดเร็ว ปลาที่อยู่ในบริเวณที่มีควันมากจะได้รับผลกระทบด้วย  นิโคตินขนาดเพียง 10 ppm สามารถฆ่าปลาหางนกยูงตายภายใน 5 นาที ดังนั้น การเป่าควันลงน้ำสามารถฆ่าปลาได้ภายใน 3-5 นาที อาการของปลาที่ได้รับนิโคติน คือ มีการแข็งตัวของครีบอก และมักเกร็งแนบข้างตัว ปลาสีซีด อาจว่ายน้ำขึ้นบนแล้วจมลงสู่ก้นอ่าง เมื่อครีบแข็งเกร็งขึ้น อาจมีการเกร็งทั้งตัวก่อนตายในกรณีพิษเฉียบพลัน ถ้าได้รับขนาดน้อย ๆ สามารถทำให้ปลาเป็นหมัน แท้งลูก และมีความผิดปกติของตัวอ่อนได้
                    11.พิษของไนไตรต์ มักเกิดขึ้นในช่วงแรกที่เริ่มการทำงานของระบบกรอง ซึ่งยังมีเชื้อแบคทีเรียไม่พอ มีการสะสมไนไตรต์ขึ้น ปลามีอาการหายใจลำบาก และเหงือกสีดำคล้ำจัดมาก  เพราะเกิดmethemoglobin สูง อาจชัก และตายเพราะระบบหายใจเป็นอัมพาตได้ การรักษาต้องใช้การเติมเกลือแกงถึง10 ppm  จึงป้องกันเหงือกได้
                    12. การขาดออกซิเจน ถ้ามีการให้ออกซิเจนไม่เพียงพอ ปลามารวมกันอยู่ที่ผิวน้ำ พยายามหายใจ การรักษา คือ ต้องเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้มากขึ้น โดยการลดอุณหภูมิ และเพิ่มการให้ฟองอากาศ ถ้าทิ้งไว้นานอาจทำให้รูปร่างของแผ่นปิดเหงือกผิดรูปไปได้
                     13. พิษของยาฆ่าแมล เกิดขึ้นเพราะความไม่ระมัดระวัง เช่น ฉีดยาฆ่าแมลงในห้องที่มีอ่างปลาอยู่ อาการของปลาที่รับสารขึ้นกับชนิดของสารฆ่าแมลง โดยทั่วไปมักมีอาการชัก และของระบบประสาทเสียหน้าที่ การรักษานั้นถ้าเป็นปลาตัวใหญ่อาจฉีดหรือแช่ atropine ช่วยในกรณีที่เป็นสารฆ่าแมลงกลุ่มorganophosphate หรือ  chlorinated  hydrocarbon
                     14. การเกิดเนื้องอกในปลา เป็นโรคติดต่อที่พบได้บ่อยในปลาสวยงาม มักเกิดจากการได้รับสารก่อมะเร็งซึ่งสะสมอยู่ในน้ำ และพื้นที่อยู่ พันธุ์ปลาแต่ละชนิดมีโอกาสเป็นไม่เท่ากัน แต่ก็ยังไม่ทราบสาเหตุแท้จริงที่ทำให้เกิดโรคเนื้องอก

โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย




 
           


                   1. วัณโรค (mycobacteriosis)      เกิดขึ้นได้ในปลาน้ำจืด และน้ำเค็มทุกชนิด เชื้อที่ก่อให้เกิดโรคนี้คือMycobacterium marinum, M. fortuitum  และ M. piscium พบ ได้ทั่วโลก อาการที่พบเป็นลักษณะเรื้อรัง ปลาอ่อนแอ ขาดอาหาร มีการหลุดลอกของเกล็ด และครีบ ตาโปน ผิวหนังอักเสบ และมีแผลหลุมช่องท้องอักเสบ บวมน้ำ มักพบตุ่มสีเทาขาวกระจายทั่วไปในตับ ไต หัวใจ ม้าม และกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดปกติของรูปร่างได้ ถ้านำมาเพาะเชื้อจะพบเชื้อวัณโรคอยู่ โรคนี้ติดต่อได้โดยการกิน ติดต่อจากแม่ผ่านไข่ในปลาที่ออกลูกเป็นตัว หรือติดต่อผ่านน้ำที่มีเชื้ออยู่ได้โดยจะเกิดเป็นตุ่มหนองขึ้นประมาณ 2-3 สัปดาห์หลังจากรับเชื้อ

                  การรักษาวัณโรคทำได้ยาก เพราะปัจจุบันเชื้อจะดื้อต่อยาปฏิชีวนะส่วนใหญ่ ต้องใช้  isoniazidหรือยาอื่น ๆ ที่ให้ผลบวกในการทดสอบความไวต่อเชื้อโดยอาจต้องใช้หลายชนิดผสมกัน เช่น  doxycyclineผสมกับ rifampin จึง ต้องระวังการติดเชื้อโดยการป้องกัน คือควรกักสัตว์ใหม่ก่อนนำมาใส่รวมกัน เมื่อพบว่าเป็นโรคแล้ว ถ้าเป็นไปได้ควรกำจัด และฆ่าเชื้อ อุปกรณ์ และบริเวณทั้งหมดให้ดี เพราะโรคนี้สามารถติดต่อถึงคนได้
                    2. Norcardiosis เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อ  Norcardia asteroides พบในปลาเตตร้านีออนก่อน  และต่อมาก็พบในปลาอื่น ๆ อีกหลายชนิด อาการที่พบมีแผลหลุมที่ลำตัว และมีการขาดอาหาร  ปลาสีซีด ตาโปน อาจมีเลือดออกทั่วไป และมีจุดสีขาวใหญ่สีครีมเกิดขึ้นที่เหงือก ไต ตับ หรือถุงลม  กระเพาะ และที่อื่น ๆ ดูคล้ายวัณโรค แต่มักพบอาการโลหิตจางด้วย การติดต่อผ่านทางน้ำได้ โดยเชื้อมีชีวิตได้ดีในน้ำจืด ดิน และน้ำทะเลที่สกปรก  เชื้อมีชีวิตในน้ำทะเลสะอาดได้ไม่กี่วัน สัตว์ที่เคยติดเชื้อจะกลายเป็นพาหะไปตลอดชีวิต
                  การรักษาทำได้ยาก แต่เคยมีรายงานการใช้ยาในกลุ่มซัลฟาได้ผล
    3. โรคครีบ และหางกร่อน พบ ได้บ่อยโดยเฉพาะเมื่อปลามีความเครียด และติดเชื้อแบคทีเรีย ที่มีอยู่ในน้ำ ในระยะแรกอาจพบแต่การ กร่อนบางส่วน แต่ถ้าทิ้งไว้นาน ๆ หางอาจหลุดหมดเลยได้  ใน ระยะแรกที่เป็นอาจใช้การรักษาโดยแช่ยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะได้ แต่ถ้าเป็นหนักควรใช้ยาผสมอาหารร่วมด้วยโดยคำนวณความเข้มข้นให้เหมาะสมตามชนิดยา ให้วันละ 2 ครั้ง ถ้ามีอาการของเชื้อราเข้าแทรก ควรใช้ยาเหลือง (acriflavin)    แช่ด้วยการรักษาต้องทำเป็นเวลานานหลายสัปดาห์จนกว่าอาการจะดีขึ้นและครีบหางค่อยๆ งอกขึ้นมาใหม่
                    4. โรคท้องบวม (dropsy) พบ มากในกลุ่มปลาทอง มักเห็นอาการบวมของท้อง เพราะมีของเหลวสะสมอยู่ในช่องท้อง แล้วทำให้มีการบานออกของเกล็ดด้วย สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่อวัยวะภายใน โดยเฉพาะที่ไต ทำให้เกิดการสะสมของเหลวซึ่งเป็นผลจากไตวาย มักพบเชื้อในกลุ่ม Aeromonas sp.เชื้อเหล่านี้เป็นเชื้อปกติที่พบได้ในตู้ปลาทั่วไป แต่ะก่อโรคเมื่อปลาอ่อนแอลง
                  การรักษาอาจใช้ยาปฏิชีวนะโดยผสมอาหารได้เช่นกัน แต่มักไม่ได้ผลดีนัก วิธีทีดีที่สุด คือ รักษาสภาพในตู้ให้เหมาะสม ซึ่งทำให้ปลาแข็งแรงมีภูมิต้านทานโรคสูง และควรแยกปลาป่วยออก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเก็บเชื้อภายในตู้
                  โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียยังมีอีกหลายชนิด สิ่งที่สำคัญคือ จำเป็นต้องทดสอบว่าเป็นโรคที่เกิดจากแบคทีเรียจริง โดยการเพาะเชื้อในห้องปฏิบัติการแล้วนำไปตรวจหาว่ามียาชนิดใดบ้างที่สามารถ ใช้รักษาได้ แล้วนำยานั้นมาใช้ในขนาดและวิธีที่เหมาะสม โดยควรให้ยาไม่ต่ำกว่า  5 วัน เพื่อไม่ให้เกิดการดื้อยาขึ้นโรคที่เกิดจากเชื้อรา

โรคที่เกิดจากเชื้อรา

                  ปลาเมื่อเกิดการอ่อนแอ หรือเป็นโรคต่าง ๆ มักมีการแทรกซ้อนของเชื้อราเกิดขึ้นด้วย เชื้อราที่พบได้บ่อย คือ
                  1. เชื้อ Saprolegnia และ Achlya มัก พบบริเวณผิวนอกของปลา และที่เหงือก รวมทั้งไข่ปลา เชื้อนี้สามารถติดต่อผ่านอากาศลงมาในอ่างปลาได้ เป็นเชื้อที่มีอยู่ทั่วไป เห็นได้ชัดเมื่อมีแผลเกิดขึ้น เชื้อราเข้าไปอยู่บริเวณขอบแผลเป็นกลุ่มเส้นใยสีขาว โดยฝังรากลงไปใต้ชั้นผิวหนัง แล้วขยายออกไปดูคล้ายก้อนสำลี ซึ่งสร้างสปอร์ติดต่อไปยังตัวปลาตัวอื่นได้ และอาจทำให้ปลาตาย
                  การรักษา สามารถใช้มาลาไคต์กรีนแช่  30 นาทีที่ความเข้มข้น 60 ppm โดย อาจทำซ้ำ ถ้าเป็นเชื้อราจะตายในไม่กี่ชั่วโมง ควรทำซ้ำเพื่อฆ่าถึงรากของเชื้อที่อยู่ใต้ผิวด้วย แต่ต้องระวังไม่ให้เข้มข้นเกินไปเพราะอาจทำให้เป็นพิษต่อปลาได้  นอกจากนี้ยังมีรายงานการใช้ยาอื่นๆด้วย เช่น  คอปเปอร์ซัลเฟต ด่างทับทิม providone iodine และ เกลือแดง พบว่าการเพิ่มอุณหภูมิของน้ำเล็กน้อย และเพิ่มออกซิเจนช่วยให้การหายเร็วขึ้น การป้องกันส่วนหนึ่ง คือ ควรเก็บอาหารที่เหลือ และปลาตายออกจากตู้อย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะเชื้อราอยู่ภายใน
                  2. Chyophoniasis เชื้อราชนิดนี้พบได้บ่อย บริเวณที่ตับ และไต รวมทั้งอวัยวะอื่น ๆ  การติดต่อผ่านทางอาหาร และเชื้อเข้าไปในกระแสเลือด จับตัวเป็นกลุ่ม (cyst) อาจมีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ถึง 2.5มิลลิเมตร มีสีน้ำตาล  แล้ว พัฒนาเป็นตุ่มเล็ก ๆ เมื่อทิ้งไว้จะแตกออกปล่อยสปอร์ออกมาแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นต่อไป อาการที่เกิดขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ติดเชื้อระยะของโรค ปลามีอาการเชื่องช้า อาจเห็นเป็นตุ่มที่แตกออกมาภายนอก เกิดเป็นแผล ซึ่งถ้าอยู่ในระยะนี้มักจะสายเกินกว่ารักษาได้ ดังนั้น  ทางที่ดีควรทำลายปลาเหล่านี้เสีย และอาจพยายามรักษาปลาที่เหลืออยู่ด้วยการผสม  phenoxethol 1 เปอร์เซ็นต์ ลงในอาหาร หรือเติมลงในน้ำ และควรให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรียด้วย โรคที่เกิดจากเชื้อรานั้นจำเป็นต้องรักษา และฆ่าเชื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ติดต่อไปยังบ่ออื่นต่อไปด้วย

โรคที่เกิดจากพยาธิ
                  โรคที่เกิดจากพยาธิต่าง ๆ  ทั้งภายนอก และภายใน ได้แก่
                  1. เห็บปลา (argulus) มักจะเป็นเห็บที่ติดมากับอาหารสด เช่น ไรน้ำ หรือมากับปลาใหม่ที่เพิ่งเอาเข้ามา เห็บปลามีขนาดยาวได้ประมาณ  5 มิลลิเมตร เกาะติดปลาโดยใช้ปากขอ 2 อัน ซึ่งใช้ดูดเลือดปลา ส่วนที่เป็นหนามบริเวณหัวของเห็บสามารถสร้างพิษ และนำโรคต่าง ๆ ได้ เห็บทำให้เกิดการระคายเคืองกับปลามาก

                  การรักษา อาจใช้ปากคีบคีบเห็บทีละตัว แต่วิธีนี้ไม่เหมาะสมเมื่อใช้กับปลาที่มีขนาดเล็ก และมีจำนวนมาก ดังนั้น อาจใช้วิธีจุ่มด่างทับทิมความเข้มข้น 10 ppm เป็นเวลา 10-30 นาที หรือแช่ตลอดด้วยความเข้มข้น 2 ppm ก็ได้ นอกจากนั้น  สารฆ่าแมลงบางชนิดก็เป็นที่นิยมใช้ ได้แก่ diptrex  เข้มข้น 0.3 ppm หรือlindane เข้มข้น 0.01 ppm เป็นต้น
                  2. หนอนสมอ (anchor worm) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Lernaea cyprinicea พยาธิตัวนี้ะฝังส่วนที่เป็นขอคล้ายสมอลงไปใต้ผิว หนอนสมออาจยาวถึง 2 เซนติเมตร และสามารถออกลูกซึ่งว่ายอยู่ในน้ำก่อนที่ไปเกาะกับปลาได้ หนอนสมอเจาะเข้าไปในกล้ามเนื้อ และพัฒนาขึ้นเป็นเวลาหลายเดือนก่อนที่โผล่ออกมา หลังจากปล่อยไข่แล้ว หนอนสมอจะตายลง รูที่เหลืออยู่ทำให้เป็นแผลน่าเกลียด และติดเชื้อได้ง่าย

                  3. ปลิงใส (flukes) ปลิงใสมีขนาดเล็กมากมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น และสามารถติดต่อได้ง่าย ปลิงใสที่พบทั่วไป ได้แก่ Gyrodactylus,  Dactylogyrus,  Neodactylogyrus  และ  Monocoelium  ส่วนมากปลิงติดอยู่บริเวณเหงือก และผิวหนัง  เมื่อส่องกล้องดูเห็นจุดสีดำคล้ายตาบริเวณหัว  ปลิงเหล่านี้สามารถทำลายเซลล์เหงือกได้อย่างมากจนทำให้ปลาตายได้ อาการที่พบคือ ตัวซีด ครีบ และหางตกลง  หายใจเร็ว และมีอาการระคายเคือง  รวมทั้งอาจมีอาการขาดอาหารด้วย

                  การรักษา อาจทำได้โดยแช่ด่างทับทิมหรือฟอร์มาลิน 2 มิลลิลิตรต่อน้ำ 10 ลิตร เป็นเวลา 45  นาทีก็น่าจะได้ผลดี นอกจากนี้การแช่เกลือ 0.5-1.0  เปอร์เซ็นต์ วิธีป้องกันการติดโรคปลิงใสคือ ต้องระวังตรวจตราปลาใหม่ที่เข้ามาเสมอ  เพื่อไม่ให้นำโรคเข้ามา รวมทั้งป้องกันไม่ให้มีหอยทากซึ่งเป็นพาหะของโรคด้วย
                  4. พยาธิเส้นด้าย (Nematodes; Threadworm)  มักพบในลำไส้ และอาจห้อยมาจากทวารหนัก ความยาวของพยาธิอาจยาวถึง 2 เซนติเมตร ซึ่งพบไม่บ่อยนัก พยาธิเหล่านี้ทำให้ปลาผอม ขาดอาหารอย่างรุนแรง ถ้าเป็นไปได้ควรทำลายเสีย  แต่ถ้ารักษาควรใช้ยาถ่ายพยาธิ เช่น ปิปาราซินผสมอาหารหรือแช่ไว้ในตู้ หรือใช้  thaiabendazole  ผสมอาหารก็ได้ นอกจากนี้ควรตรวจดูให้ดีว่าปลาอื่น ๆ เป็นตัวเก็บเชื้อหรือไม่ เพื่อไม่ให้ติดเชื้อซ้ำเมื่อรักษาหายแล้ว
                  5. พยาธิตัวแบน (tapeworm) พบไม่มากในปลา แต่เคยมีรายงานว่าพบในลำไส้ปลาที่มีพยาธิ  ซึ่งยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร พยาธิชนิดนี้ทำให้ปลาเกิดอาการขาดอาหารเช่นเดียวกับพยาธิเส้นด้าย และมีโลหิตจางร่วมด้วย โรคนี้อาจใช้ยาถ่ายพยาธิทั่วไปช่วยได้ แต่ก็โชคดีที่ไม่ค่อยพบบ่อยนัก
                  เห็นได้ว่าโรคของปลาสวยงามนั้นมีอยู่หลายชนิด  แต่ ละชนิดสามารถทำความเสียหายให้ปลาในระดับต่างๆกัน ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ผู้เลี้ยงควรคำนึงถึง คือ ต้องวินิจฉัยให้ดีว่าปลาเป็นโรคอะไร และรักษาด้วยยาอะไร ให้ปริมาณเท่าใด  กี่วัน มิฉะนั้นทำให้มีปัญหาการดื้อยาตามมาได้  “ควรปรึกษาสัตวแพทย์เมื่อมีสัตว์ป่วย เพื่อที่จะได้หาวิธีแก้ไขที่เหมาะสมจริงจังต่อไป

โรคที่เกี่ยวกับการขาดธาตุอาหาร

                  1. ขาดธาตุไอโอดีน มีอาการต่อมไทรอยด์บวม สาเหตุอาจจะเกิดจากการขาดธาตุอาหารไอโอดีนในอาหารหรืออาหารที่มีสาร goitrogenic  สูง ซึ่งพบในวัตถุดิบอาหารที่เรียกว่า repeseed  หรือกากองุ่นหรือในน้ำมีสารดังกล่าวสูง
                  2. ขาดกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่  linolenic หรือ linoleic เนื่องจากปลาไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ อาการที่พบปลาจะมีสีซีด ครีบเปื่อย
                  3. ขาดวิตามินซี วิตามินซีมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ เนื่องจากสัตว์น้ำไม่สามารถสังเคราะห์ได้เองตามธรรมชาติ  นอกจากนั้นยังสลายได้เร็ว และเปลี่ยนรูปได้ง่าย  อาการที่พบ  แผลแห้งช้า  ตกเลือด  กระดูกโค้งงอ
                  4. ขาดวิตามินอี อาการของการขาดวิตามินอี  ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจลีบ และกระดูกงอ


                  โรคที่เกิดจากแบคทีเรียของปลาสวยงามนั้น  เราควรทำความรู้จักกับโรคต่าง ๆ ดังนี้