ว่ายไปๆ

ปลาสวยงาม

วัตถุประสงค์

บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาและเป็นตัวอย่างในการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน กลุ่มเรียนที่ 20 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ค้นหา

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

การเพาะเลี้ยงไรแดงในบ่อดิน

การเพาะเลี้ยงไรแดงในบ่อดิน

1.       กำจัดสิ่งรกภายในบริเวณบ่อและศัตรูต่าง ๆ ของไรแดง ประมาณ 2 วัน
2.       กรองน้ำลงบ่อให้มีระดับน้ำสูงจากพื้นบ่อประมาณ 25 - 40 เซนติเมตร พร้อมกับเติมปุ๋ยและอาหารลงไป
3.       สูตรอาหารที่ใช้มีดังนี้

วัสดุ
บ่อ 200 ตรม.
บ่อ 800 ตรม.
ปูนขาว
15 กก.
60 กก.
อามิ-อามิ
25 ลิตร
100 ลิตร
ปุ๋ย สูตร 16-20-0
2.5 กก.
10 กก.
ยูเรีย
1.2 กก.
กก.
กากถั่วเหลืองหมัก
2.5 กก.
10 กก.

4.  ถ้าไม่มีอามิ-อามิ ให้ใช้มูลไก่ ประมาณ 80 กก./ 800 ตารางเมตร แล้วใส่น้ำเขียวประมาณ 2 ตัน ถ้าไม่มีน้ำเขียวก็หมักน้ำทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน
1.       เมื่อน้ำในบ่อมีสีเขียวแล้วให้เติมเชื้อไรแดงอย่างดี ประมาณ 2 กิโลกรัม
2.       เริ่มเก็บเกี่ยวไรแดงได้ในวันที่ 4 - 7 จึงควรเก็บเกี่ยวไรแดงให้ได้มากที่สุด (ควรเก็บเกี่ยวในช่วงเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น จะเก็บเกี่ยวได้สะดวก และ ได้ปริมาณมาก) หลังจากนั้นไรแดงจะเริ่มลดน้อยลง จึงควรเติมอาหารลงไป อาหารที่ควรเติมในระยะนี้ควรจะเป็นพวกย่อยสลายเร็ว เช่น น้ำถั่วเหลือง น้ำเขียว รำเลือดสัตว์ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์และปุ๋ยคอก เป็นต้น โดยเติมอาหารลดลงไปจากเดิมครึ่งหนึ่ง ไรแดงจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นอีกภายใน 2 - 3 วัน และจะกลับลดลงไปอีกก็ให้เติมอาหารไปเท่ากับครั้งที่ 2 ในกรณีนี้การเกิดไรแดงจะลดจำนวนลงมากถึงจะเติมอาหารลงไปอีก ไรแดงก็จะไม่เพิ่มปริมาณมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการใส่อาหารกับผลผลิตที่ได้ และ เวลาที่เสียไปเห็นว่าไม่คุ้มกับการลงปุ๋ยแล้ว จึงควรเริ่มการเพาะเลี้ยงไรแดงใหม่ ซึ่งปกติแล้วเมื่อเพาะไรแดงไม่ได้ 15 วัน ก็จะเริ่มต้นใหม่
ต้นทุนอาหารไรแดงโดยประมาณ
1.       กากผงชูรส (อามิ-อามิ) ลิตรละ 35 สตางค์
2.       ปุ๋ยนา (16-20-0) กก.ละ 5 บาท
3.       ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) กก.ละ 4 บาท
4.       ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) กก.ละ 8 บาท
5.       ปูนขาว กก.ละ 1 บาท
6.       กากถั่วเหลือง กก.ละ 12 บาท

ไรแดง-การนำมาใช้การขนส่ง และ การเก็บรักษา   การนำไรแดงมาใช้
การนำไรแดงมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ไรแดงที่ได้จากบ่อผลิตในลักษณะนี้จะมีเชื้อโรคที่ทำอันตรายกับสัตว์น้ำน้อยกว่าไรแดงที่ได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่เพื่อความมั่นใจจึงควรล้างด้วยสารละลายด่างทับทิม 0.1 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ซึ่งจะได้สารละลายสีชมพูอ่อน สารละลายนี้จะเพิ่มออกซิเจนให้กับไรแดงและน้ำด้วย เพราะด่างทับทิมเมื่อละลายน้ำจะให้ออกซิเจนในน้ำ

สำหรับปริมาณไรแดงที่ใช้อนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนให้ใช้ในปริมาณ
 500 - 800 กรัม / ลูกปลา จำนวน 100,000ตัว / วัน โดยแบ่งอาหารให้ 4 - 5 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 4 - 6 ชั่วโมง ระวังอย่างให้มีลูกไรเหลือลอยอยู่ตลอดเวลา เพราะลูกไรส่วนมากจะตาย หมักหมมอยู่บริเวณพื้นบ่อ การอนุบาลลูกปลาดุกอุยตั้งแต่ไข่แดงยุบในระยะเวลา 2 สัปดาห์ จะได้ลูกปลาดุกอุยขนาดเฉลี่ย 2 เซนติเมตร ในการอนุบาลลูกปลาดุกอุย หรือ ปลาดุกเทศ อาจใช้อาหารสำเร็จรูปช่วยได้โดยเริ่มฝึกให้ลูกปลากินอาหารสำเร็จรูป เมื่อลูกปลามีอายุได้ 8 - 10 วัน โดยให้พร้อมกับไรแดง แล้วค่อย ๆ ลดปริมาณ ไรแดงลงและเพิ่มปริมาณอาหารสำเร็จรูป จนกระทั่งลูกปลาสามารถกินอาหารสำเร็จรูปได้ทั้งหมด
การลำเลียงขนส่งไรแดง
การขนส่งไรแดงนั้นควรลดกิจกรรมการดำเนินชีวิตของไรแดงโดยบรรจุไรแดงในอุณหภูมิต่ำเพื่อให้เกิดการใช้พลังงานต่าง ๆ ในตัวให้น้อยที่สุด ในระหว่างการลำเลียงนั้นควรให้อุณหภูมิภายในถุงเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้า ๆ ไม่รวดเร็วและช่วงกว้างของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิไม่มากนักจนเป็นอันตรายต่อไรแดง การขนส่งไรแดงที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันควรทำดังนี้
1.       การขนส่งไรแดงโดยวิธีนำไรแดงแช่ในน้ำแข็งประมาณ 1 - 2 วินาที เพื่อลดกิจกรรมและระบบการเผาผลาญพลังงานในตัวเอง แล้วรีบบรรจุในน้ำสะอาด และ มีน้ำแข็งคลุมรอบนอกถุง เป็นวิธีที่ดีที่สุด
2.       การขนส่งไรแดงในระยะทางใกล้ ๆ ซึ่งใช้ระยะเวลา 2 - 3 ชั่วโมงนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ไรแดงแช่ในน้ำแข็ง แต่ควรนำไรแดงมาบรรจุในน้ำสะอาดแล้วอัดออกซิเจน คลุมน้ำแข็งรอบ ๆ แล้วขนส่งไรแดงในรถที่มีเครื่องปรับอากาศก็ยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งมากยิ่งขึ้น ในกรณีที่ไม่สามารถหาน้ำแข็งได้ก็สามารถขนส่งในรถที่มีเครื่องปรับอากาศได้
3.       การลำเลียงไรแดงในลักษณะแช่แข็งก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง เช่นเดียวกันโดยนำไรแดงไปแช่แข็งในตู้เย็นและให้ไรแดงแข็งโดยเร็ว เพื่อความสด วิธีนี้สามารถเก็บไว้ได้นานและยังสดอยู่เสมอ แต่ไรแดงที่ได้เป็นไรแดงที่ตายแล้ว สัตว์น้ำวัยอ่อนจะชอบกินไรแดงสดมากกว่าไรแดงที่แช่แข็ง การให้อาหารลูกปลาลูกกุ้งวัยอ่อนจึงควรให้ครั้งละน้อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเสียได้ง่าย

การเก็บรักษาไรแดง
1.       ใช้วิธีการเก็บโดยการแช่แข็ง วิธีนี้สามารถเก็บไว้ได้นานและยังสดอยู่เสมอ ส่วนมากเป็นไรแดงที่ตาย (โดยปกติสัตว์น้ำวัยอ่อนมักชอบกินไรแดงที่ยังมีชีวิตอยู่) ไรแดงที่เก็บโดยวิธีนี้ไม่สามารถนำไปใช้เป็นพันธุ์ในการผลิตต่อไป

วิธีการเก็บในอุณหภูมิต่ำประมาณ 10 องศาเซลเซียส โดยเติมน้ำลงไป 50 เปอร์เซ็นต์ จะอยู่ได้นาน 4วัน ในภาชนะเปิดประมาณวันที่ 3 จะสังเกตุเห็นไข่สีขาวขุ่นหรือสีชมพูซึ่งเป็นไข่ไรแดงชนิดที่จะต้องผสมพันธุ์กับเพศผู้ ซึ่งจะสร้างขึ้นเมื่อสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสม อุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ความเป็นกรดเป็นด่างต่ำกว่า 6 หรือ สูงกว่า 10 เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น