วิธีการดูแลรักษาน้ำในตู้ปลาและปลาที่เลี้ยง
เกลือ สำหรับการเลี้ยงปลาสวยงามหรือปลาตู้นั้น ผู้เลี้ยงปลาคงจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี แต่สำหรับบางท่านที่ยังไม่แน่ใจในคุณสมบัติของเกลือมักจะมีคำถามเหล่านี้ตามมา ไม่ว่าจะเป็น... ทำไมต้องใช้เกลือ ? ทำไมต้องใส่เกลือทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำ ? เกลือที่ใช้สามารถใช้เกลือปรุงรสอาหารได้หรือเปล่า ? ตู้/อ่าง ขนาดเท่านี้ เท่านั้น ต้องใส่เกลือปริมาณเท่าไหร่ ? ตอนนี้ใส่ยาไปแล้ว ต้องใส่เกลือซ้ำลงไปอีกหรือเปล่า ? ฯลฯ
เกลือ สำหรับเลี้ยงปลาที่เรา ๆ ใช้กันอยู่นั้น เรียกว่า เกลือเม็ด หรือเกลือทะเล ไม่ใช่เกลือปรุงอาหารที่เติมแต่งองค์ประกอบอื่น ๆ ลงไป เช่น ไอโอดีน หากแต่เป็นเกลือที่ได้จากธรรมชาติล้วน ๆ สามารถละลายน้ำได้ง่าย ไม่ทำให้ค่า pH ในน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงและไม่ทำปฏิกิริยากับยาบางชนิดเหมือนเกลือปรุงรส เกลืออาจไม่ถูกกับยาปฏิชีวนะบางชนิด ซึ่งจะทำให้ฤทธิ์ยาเสื่อมเร็ว เพราะฉะนั้นเวลาใส่ยาไม่ควรใส่เกลือ จะใส่เกลือเวลาปฐมพยาบาลปลาขั้นแรกเท่านั้น ถ้ายังไม่ดีขึ้นค่อยใส่ยาตามสาเหตุของโรคนั้น ๆ
ประโยชน์ของเกลือ
เกลือจัดว่าเป็นวัตถุดิบสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามในการเลี้ยงปลาได้เช่นกัน ประโยชน์ของมันมีมากมายหลายอย่าง โดยเฉพาะการป้องกันโรคและปรสิตในปลา เสริมสร้างภูมิต้านทาาน และอีกมากมาย เช่น
1. เกลือจะไม่ส่งผลต่ออุปกรณ์การกรอง เช่น วัสดุหรือหินกรองต่าง ๆ และไม่เป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ในระบบกรองชีวภาพ
2. หาซื้อได้ง่ายตามร้านขายอุปกรณ์ปลาสวยงามทั่วไป รวมทั้งราคาก็ถูกอีกด้วย
3. ไม่เป็นอันตรายต่อปลาเกือบทุกชนิด เพราะไม่ไปซ้ำเติมสภาพปลาที่ป่วยให้รุนแรงมากยิ่งขึ้น
4. สามารถกำจัดปรสิตได้อย่างรวดเร็วถึง 7 : 9 ส่วน ในภาชนะที่เลี้ยง
5. สามารถควบคุมปริมาณพิษของไนเตรทฉับพลันในน้ำ โดยประจุที่ได้จากเกลือจะซึมผ่านตัวปลาป้องกันไม่ให้ไนเตรทส่งผลต่อเม็ดเลือดแดงที่ทำให้ปลาฟอกออกซิเจนได้น้อยลง
6. สามารถลดภาวะเครียดในปลาได้เป็นอย่างดี
7. เพิ่มพลังงานและภูมิต้านทานต่อโรคต่าง ๆ
8. ใช้ในการกักโรคปลา
9. กระตุ้นการขัยเมือกของปลาเพื่อป้องกันตัวปลาจากปรสิตและเชื้อโรคต่าง ๆ เพราะในเมือกปลามีสารฆ่าเชื้อผสมอยู่
10. ช่วยยืดอายุหินซีโอไลท์ในระบบกรองได้ยาวนานขึ้น โดยทำให้หินซีโอไลท์คายแอมโมเนียออกมา
11. ประสิทธิภาพของเกลือจะไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อโดนแสงแดด หรือสารอินทรีย์ในน้ำ ทำให้สามารถคงประสิทธิภาพได้นาน
เกลือจัดว่าเป็นวัตถุดิบสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามในการเลี้ยงปลาได้เช่นกัน ประโยชน์ของมันมีมากมายหลายอย่าง โดยเฉพาะการป้องกันโรคและปรสิตในปลา เสริมสร้างภูมิต้านทาาน และอีกมากมาย เช่น
1. เกลือจะไม่ส่งผลต่ออุปกรณ์การกรอง เช่น วัสดุหรือหินกรองต่าง ๆ และไม่เป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ในระบบกรองชีวภาพ
2. หาซื้อได้ง่ายตามร้านขายอุปกรณ์ปลาสวยงามทั่วไป รวมทั้งราคาก็ถูกอีกด้วย
3. ไม่เป็นอันตรายต่อปลาเกือบทุกชนิด เพราะไม่ไปซ้ำเติมสภาพปลาที่ป่วยให้รุนแรงมากยิ่งขึ้น
4. สามารถกำจัดปรสิตได้อย่างรวดเร็วถึง 7 : 9 ส่วน ในภาชนะที่เลี้ยง
5. สามารถควบคุมปริมาณพิษของไนเตรทฉับพลันในน้ำ โดยประจุที่ได้จากเกลือจะซึมผ่านตัวปลาป้องกันไม่ให้ไนเตรทส่งผลต่อเม็ดเลือดแดงที่ทำให้ปลาฟอกออกซิเจนได้น้อยลง
6. สามารถลดภาวะเครียดในปลาได้เป็นอย่างดี
7. เพิ่มพลังงานและภูมิต้านทานต่อโรคต่าง ๆ
8. ใช้ในการกักโรคปลา
9. กระตุ้นการขัยเมือกของปลาเพื่อป้องกันตัวปลาจากปรสิตและเชื้อโรคต่าง ๆ เพราะในเมือกปลามีสารฆ่าเชื้อผสมอยู่
10. ช่วยยืดอายุหินซีโอไลท์ในระบบกรองได้ยาวนานขึ้น โดยทำให้หินซีโอไลท์คายแอมโมเนียออกมา
11. ประสิทธิภาพของเกลือจะไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อโดนแสงแดด หรือสารอินทรีย์ในน้ำ ทำให้สามารถคงประสิทธิภาพได้นาน
ข้อควรระวังในการใช้เกลือ
1. การกระจายตัวและประสิทธิภาพของเกลือจะไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เมื่อใส่ลงในน้ำเก่าหรือเปลี่ยนน้ำออกแค่ไม่กี่ส่วน
2. น้ำที่มีอุณหภูมิต่ำไม่เหมาะสมกับการเติมเกลือให้ปลา
3. เกลือทำให้น้ำมีคุณสมบัติกระด้างขึ้น ถ้าน้ำมีความกระด้างอยู่แล้วไม่สมควรเติมเพราะเพิ่มความเครียดในปลา
4. ในกระบวนการออสโมซิส ปลาจะมีเกลืออยู่ในร่างกายตามปกติอยู่แล้ว แต่ปลาจะซึมซับเกลือจากน้ำในปริมาณที่จะทำให้เกลือในร่างกายสมดุลกับที่ต้องการ แต่ถ้าผู้เลี้ยงเติมเกลือลงในน้ำไปในปริมาณที่เกินความต้องการของปลา เท่ากับเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมของปลา และอาจทำให้ปลาซึมซับเกลือที่เกินขอบเขต นำมาซึ่งการลดภูมิต้านทานของปลา ความแข็งแรง พลังงาน และอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ปลาตายได้เช่นกัน
5. ควรใช้เมื่อปลาป่วยหรือน้ำมีคุณภาพผิดปกติ
6. เกลือสามารถทำให้คุณสมบัติของยาปฏิชีวนะบางชนิดเสื่อมลงเมื่อใช้คู่กัน
7. ควรใส่ปริมาณแต่น้อยไว้ก่อน ถ้าใส่มากไปจะเกิดการออสโมซิสย้อนทำลายปลาเอง
8. เกลือเมื่อละลายน้ำแล้ว จะทำใหระดับออกซิเจนในน้ำลดลง
9. ก่อนใส่เกลือลงในน้ำ ควรจะนำพรรณไม้น้ำออกเสียก่อน เพราะเกลือจะมีผลต่อพืชน้ำพอสมควร พืชน้ำบางชนิดทนความเค็มไม่ได้แม้เพียงแค่ 0.1% ก็ตาม และสมควรเปลี่ยนน้ำออก 50% ปริมาณเกลือที่ใส่ลงในตู้ปลา เพื่อป้องกันเชื้อโรคและปรสิตต่าง ๆ หรือหลังการเปลี่ยนน้ำใหม่
1. การกระจายตัวและประสิทธิภาพของเกลือจะไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เมื่อใส่ลงในน้ำเก่าหรือเปลี่ยนน้ำออกแค่ไม่กี่ส่วน
2. น้ำที่มีอุณหภูมิต่ำไม่เหมาะสมกับการเติมเกลือให้ปลา
3. เกลือทำให้น้ำมีคุณสมบัติกระด้างขึ้น ถ้าน้ำมีความกระด้างอยู่แล้วไม่สมควรเติมเพราะเพิ่มความเครียดในปลา
4. ในกระบวนการออสโมซิส ปลาจะมีเกลืออยู่ในร่างกายตามปกติอยู่แล้ว แต่ปลาจะซึมซับเกลือจากน้ำในปริมาณที่จะทำให้เกลือในร่างกายสมดุลกับที่ต้องการ แต่ถ้าผู้เลี้ยงเติมเกลือลงในน้ำไปในปริมาณที่เกินความต้องการของปลา เท่ากับเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมของปลา และอาจทำให้ปลาซึมซับเกลือที่เกินขอบเขต นำมาซึ่งการลดภูมิต้านทานของปลา ความแข็งแรง พลังงาน และอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ปลาตายได้เช่นกัน
5. ควรใช้เมื่อปลาป่วยหรือน้ำมีคุณภาพผิดปกติ
6. เกลือสามารถทำให้คุณสมบัติของยาปฏิชีวนะบางชนิดเสื่อมลงเมื่อใช้คู่กัน
7. ควรใส่ปริมาณแต่น้อยไว้ก่อน ถ้าใส่มากไปจะเกิดการออสโมซิสย้อนทำลายปลาเอง
8. เกลือเมื่อละลายน้ำแล้ว จะทำใหระดับออกซิเจนในน้ำลดลง
9. ก่อนใส่เกลือลงในน้ำ ควรจะนำพรรณไม้น้ำออกเสียก่อน เพราะเกลือจะมีผลต่อพืชน้ำพอสมควร พืชน้ำบางชนิดทนความเค็มไม่ได้แม้เพียงแค่ 0.1% ก็ตาม และสมควรเปลี่ยนน้ำออก 50% ปริมาณเกลือที่ใส่ลงในตู้ปลา เพื่อป้องกันเชื้อโรคและปรสิตต่าง ๆ หรือหลังการเปลี่ยนน้ำใหม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น